สมองรับรู้เสียงภายนอกขณะนอนหลับฝันหรือไม่?

สมองรับรู้เสียงภายนอกขณะฝัน

นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) และจาก ENS-PSL รวมถึงจากมหาวิทยาลัย Monash ในประเทศออสเตรเลียพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสมองสามารถระงับข้อมูลต่างๆ จากโลกภายนอกได้ เช่น เสียงของการสนทนาในช่วงนอนหลับที่เชื่อมโยงกับความฝัน ซึ่งความสามารถนี้เป็นหนึ่งในกลไกการป้องกันของความฝัน

การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยความร่วมมือกันของศูนย์การนอนหลับของโรงพยาบาลในกรุงปารีส (Centre du Sommeil et de la Vigilance, Hôtel-Dieu, AP-HP – Université de Paris) ที่ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางชีววิทยา Current Biology ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม 2563

ในขณะที่เราฝัน เราได้สร้างโลกต่างๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับความเงียบสงบของห้องนอนของเรา ในความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างผิดปกติสำหรับปัจจัยต่างๆ ของสภาพแวดล้อมในขณะนั้นที่จะถูกรวมไว้ในความฝัน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเกี่ยวกับการที่สมองสามารถปกป้องตัวเองจากอิทพลภายนอก

นักวิจัยได้เชิญอาสาสมัครจำนวน 18 คน โดยให้ทุกคนงีบหลับในตอนเช้าภายในห้องทดลอง การนอนหลับในตอนเช้ามักเต็มไปด้วยความฝัน โดยส่วนใหญ่แล้วช่วงความฝันที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ช่วงการนอนหลับแบบลูกตากรอกตัวอย่างรวดเร็ว” (REM sleep) เนื่องจากสมองกำลังอยู่ในภาวะตื่นตัวในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งแสดงให้เห็นการดำเนินการของสมองเช่นเดียวกับคนตื่นนอน

ในทางกลับกันร่างกายจะเป็นอัมพาตชั่วขณะถึงแม้ว่าจะไม่เป็นทั้งหมด และในบางช่วงระหว่าง REM sleep ดวงตาจะยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ จากการวิจัยพบว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความฝัน

เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมองในขณะฝันว่ามีปฏิสัมพันธ์กับเสียงภายนอกอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ให้อาสาสมัครฟังเรื่องต่างๆ ในภาษาฝรั่งเศสกับภาษาที่ไม่มีความหมาย โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram) กับระบบคอมพิวเตอร์

นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าแม้ว่าสมองจะนอนหลับ แต่สมองก็ยังบันทึกทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว นอกจากนี้การวิจัยแสดงให้เห็นว่าระหว่างการนอนหลับตื้น (Light sleep) สมองจะจัดลำดับความสำคัญของการพูดเช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในสภาวะตื่น

อย่างไรก็ตามคำพูดดังกว่าวจะถูกกรองออกในระหว่างช่วง REM sleep กล่าวคือ สมองของคนในขณะนอนหลับสามารถเลือกข้อมูลจากโลกภายนอกและขยายหรือเพิ่มรายละเอียดอย่างยืดหยุ่นหรือกระทั่งยับยั้งข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลเหล่านั้นจะถูกฝังลึกในความฝันหรือไม่

ทีมวิจัยเชื่อว่ากลไกนี้สามารถช่วยให้สมองปกป้องช่วงความฝัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสมดุลทางอารมณ์และการรวบรวมการเรียนรู้ของวัน ถึงแม้ว่าความฝันจะมีความโดดเด่นในช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวของดวงตา ความฝันเหล่านั้นยังสามารถเกิดขึ้นได้ช่วงต่างๆ ของการนอนหลับอีกด้วย ซึ่งมันก็เกิดเป็นคำถามว่า ความฝันเหล่านั้นมาพร้อมกับการระงับความรู้สึกจากโลกภายนอกหรือไม่

แปลจากบทความเรื่อง : The dreaming brain tunes out the outside world
โดย นส.เบญจรัตน์ รัตนจักร Sleep Technician, NK Sleepcare Co., Ltd.
อ้างอิง: The dreaming brain tunes out the outside world

New call-to-action
วิธีนับเวลานอนที่เหมาะสม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *