ภาวะหยุดหายใจขณะหลับกับโรคหลอดเลือดในสมอง

ภาวะหยุดหายใจกับโรคหลอดเลือดในสมอง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่โดยส่วนมากแล้วจะพบในวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง โดยหนึ่งในนั้นก็คือโรคหลอดเลือดในสมอง แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดในสมองอย่างไร สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้

รู้จักภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) หรือ OSA เป็นภาวะที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังนอนหลับ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการนอนกรนอย่างรุนแรง กล่าวคือมีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้นทำให้การหายใจลำบากขึ้น สมองจะรับรู้และสั่งการให้เพิ่มแรงในการหายใจ ส่งผลให้สมองปลุกเราให้ตื่นเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อช่องคอกลับมาตึงตัวและเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง โดยวงจรเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลายครั้งในแต่ละคืน ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุและความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดในสมอง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับกับโรคเส้นเลือดในสมอง

ในขณะที่เรานอนหลับและมีอาการนอนกรนชนิดรุนแรงจนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ เรื่องของระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้หัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนัก และอาจก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตกได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีไขมันสะสมและอุดตันในเส้นเลือด โดยอาจมีอาการที่สามารถสังเกตได้ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. ปวดศีรษะ เวียนศีรษะบ่อยครั้ง
  2. ตามัว มองเห็นภาพซ้อน
  3. เดินเซ ทรงตัวลำบาก

รับมือกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างไรได้บ้าง

  • สังเกตอาการ
    ท่านใดที่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่สามารถสังเกตได้ จากอาการดังต่อไปนี้
    • นอนกรนดังมากเป็นประจำ
    • รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ไม่สดชื่น
    • คอแห้งทุกครั้งที่ตื่นนอน
    • ปวดศีรษะเป็นประจำทุกเช้า
    • หายใจไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ
  • พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
    หากประสบปัญหานอนกรนจนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมกับคู่สมรสหรือผู้ที่สังเกตเห็นอาการของท่านขณะนอน เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้หลายวิธีตามดุลยพินิจของแพทย์ ตั้งแต่
    • ตรวจร่างกายเบื้องต้น
    • ตรวจพิเศษ (ตรวจท่าทางการนอน)
    • ตรวจความผิดปกติจากการนอน (Polysomnography : PSG/Sleep Lab)

อ่านบทความเรื่อง การรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

New call-to-action
New call-to-action

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *