การนอนหลับกับความเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้น

ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุ

การนอนหลับ กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องด้วยปัจจัยและพฤติกรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เลยคือยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นการนอนหลับก็ยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บางคนอาจนอนดึกตื่นเช้า หลับๆตื่นๆ หรือนอนไม่หลับเลยก็มี สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไป ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยปละละเลยไป ควรหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจในการนอนหลับให้มากยิ่งขึ้น

การนอนหลับมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเมื่ออายุมากขึ้น?

  1. ช่วงเวลาในการนอนหลับจะเลื่อนมาเร็วขึ้น โดยจะค่อยๆ รู้สึกง่วงขึ้นมาทันทีในช่วงหัวค่ำหรือไวกว่าที่เคย เช่น จากเดิมที่เคยรู้สึกง่วงนอนตอน 3 ทุ่ม ก็อาจจะง่วงนอนตั้งแต่ 1 ทุ่มแทน
  2. ความรู้สึกสดชื่นหลังจากการตื่นนอนหรือความรู้สึกเต็มอิ่มกับการนอนหลับลดลง เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายอาจนอนหลับไม่เพียงพอกล่าวคือมีการหลับตื้นมากกว่าการหลับลึก หรือหลับได้สักพักก็ตื่น ทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง
  3. มีความต้องการงีบหลับในช่วงระหว่างวันมากขึ้น เป็นผลมาจากความรู้สึกสดชื่นหลังจากการตื่นนอนลดลง หรือความรู้สึกเต็มอิ่มกับการนอนหลับลดลง เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายอาจนอนหลับไม่เพียงพอ

ลักษณะของการนอนหลับที่พบได้มากในผู้สูงอายุ

  • นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
  • หลับยาก หรือหลับๆตื่นๆ บ่อย จนเหมือนไม่ได้นอน
  • ตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วนอนหลับต่อไม่ได้
  • มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน
  • ไม่สดชื่น นอนไม่เต็มอิ่ม

ทำอย่างไรจึงจะนอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มและมีประสิทธิภาพ?

  • ตื่นนอนและเข้านอนอย่างเป็นเวลา
  • เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง
  • ไม่ควรใช้เวลาอยู่บนเตียงนานๆ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ บนเตียงนอกเหนือจากการนอนหลับ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หากต้องการงีบหลับระหว่างวัน ก็สามารถทำได้แต่ไม่ควรเกิน 1-2 ชั่วโมง และควรเลือกเวลางีบหลับก่อน 15.00 น.
New call-to-action
วิธีนับเวลานอนที่เหมาะสม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *