นอนไม่พอ นอนเกิน เกี่ยวข้องกับการนอนกรนอย่างไร

นอนไม่พอนอนกรนเกี่ยวข้องกับนอนกรน

นอนไม่พอ นอนเกิน เป็นอาการที่บ่งบอกว่าบุคคลนั้นกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนกรน หรือการนอนไม่หลับก็ตาม ซึ่งอาการนอนไม่พอหรือนอนเกินนั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงการนอนไม่พอ นอนเกิน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการนอนกรน

นอนไม่พอ นอนเกิน เกี่ยวข้องกับการนอนกรนอย่างไร

นอนไม่พอ นอนเกิน มีความเกี่ยวข้องกับการนอนกรนกล่าวคือ การนอนกรนอาจทำให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ขึ้น ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง ในบางรายอาจมีการสะดุ้งเฮือกเกิดขึ้น เพื่อเป็นการปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะไปขัดขวางการนอนหลับของเรา ทำให้เกิดปัญหานอนไม่เพียงพอ

ซึ่งเมื่อเรานอนกรนและทำให้การนอนหลับถูกรบกวนนั้น ทำให้เรารู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาแล้วยังรู้สึกง่วงนอนอยู่ เราก็จะไม่อยากตื่นหรือลุกจากเตียง ทำให้เรานอนตื่นสาย และมีชั่วโมงการนอนที่มากเกินความจำเป็นได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนอนไม่พอหรือนอนเกิน

แน่นอนว่าอาการนอนไม่พอหรือนอนเกินที่เกิดขึ้นจากการนอนกรนนั้นย่อมเกิดผลกระทบในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น

ผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ผู้ที่มีอาการนอนไม่พอก็จะเกิดการง่วงนอนระหว่างวัน ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำงานหรือการเรียน เนื่องจากมีความง่วงนอนอยู่ตลอดเวลาเพราะนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ส่วนผู้ที่มีอาการนอนเกิน ก็จะทำให้บุคลนั้นๆ  ต้องการการงีบ ต้องการการนอนหลับระหว่างวันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วก่อให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันและหน้าที่ในแต่ละวันเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

ผลกระทบด้านสุขภาพ

ผู้ที่นอนไม่พอ หรือนอนเกิน มักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาไม่ว่าจะเป็นการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สมองเฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา กลายเป็นคนซึมเศร้าเนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป

จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรนจริงหรือไม่

นอนกรนเกิดจากอะไร เรานอนกรนจริงหรือไม่ สัญญาณเตือนสำคัญที่ใช้เป็นตัวชี้วัดง่ายๆ ว่านอนกรนจริงหรือไม่จนต้องมาตรวจและปรึกษาแพทย์ ก็คือ เสียงกรนที่ดังจนรบกวนคนร่วมเตียง ซึ่งผู้ที่มีการนอนกรนนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่านอนกรนเสียงดังแค่ไหน จนกระทั่งคนที่นอนด้วยเป็นคนคอยบอกคอยเตือนว่าไม่ไหวแล้ว เสียงกรนดังมาก ควรไปพบแพทย์

วิธีการแก้ไขการนอนกรน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนไม่พอ นอนเกิน สามารถทำได้อย่างไร ?

ในกรณีที่มีอาการนอนกรนอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยให้ดีขึ้นได้ เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย หรือปรับเปลี่ยนท่านอน หากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวในระดับปานกลางถึงมาก ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การใช้เครื่อง Continuous Positive Airway Pressure หรือเรียกง่ายๆว่า CPAP ไปจนถึงการเข้ารับการผ่าตัด โดยการแก้ไขและรักษาอาการนอนกรนนั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาและดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

New call-to-action
New call-to-action

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *