ปัจจัยทางกายวิภาคที่มีส่วนทำให้เกิดการนอนกรน

ปัจจัยทางกายวิภาคที่ทำให้นอนกรน

การนอนกรน อาจจะเป็นเรื่องที่ใครหลายคนกำลังประสบปัญหาอยู่ก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่ามีปัจจัยด้านใดบ้างที่มีส่วนทำให้เกิดอาการนอนกรน ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบายให้ท่านทราบครับ

ปัจจัยทางกายวิภาคที่มีส่วนทำให้เกิดการนอนกรน

1. ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพดานอ่อน โคนลิ้น ลำคอ เกิดการหย่อนตัว

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการนอนกรน โดยในขณะที่กำลังหลับลึกกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวต่ำ ไม่สามารถทำให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างได้ในขณะหายใจเข้าเหมือนในขณะที่เรากำลังตื่นอยู่ ซึ่งท่านอนที่ทำให้มีส่วนเกิดการนอนกรนก็คือ ท่านอนหงาย ส่วนการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การทานยานอนหลับ หรือยาแก้แพ้ชนิดง่วง ก็มีส่วนเสริมทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตึวต่ำมากขึ้น และมีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น

2. เพดานอ่อนและลิ้นไก่ มีความยาวผิดปกติ 

จะทำให้ทางผ่านของลมหายใจหลังจมูกแคบ ถ้าหากได้ตรวจร่างกายเฉพาะทางในท่านอนราบแล้วส่องกล้องดู อาจจะเห็นรูเปิดจากจมูกไปยังคอหอยว่ามีลักษณะแคบ

3. การอุดกั้นของโพรงจมูก 

จะทำให้เกิดความดันที่เป็นลบเพิ่มมากขึ้นระหว่างหายใจเข้า และเกิดการอุดกั้นในทางเดินหายใจ เช่น บางคนไม่เคยมีอาการนอนกรนหรือประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอนกรนมาก่อน แต่เมื่อเป็นหวัด คัดจมูก หรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ และมีอาการคัดจมูก สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการนอนกรน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น เยื่อบุจมูกบวม หรือ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น

ซึ่งปัจจัยทางกายวิภาคเหล่านี้ส่งผลให้อวัยวะทางเดินหายใจส่วนบนแคบ ส่งผลให้ต้องเพิ่มแรงในการพยายามหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีการอุดกั้นทางเดินหายใจมาก ยิ่งเกิดการสั่นสะเทือนของอวัยวะที่ลมผ่าน เช่น ลิ้นไก่, เพดานอ่อน, tonsillar pillars และโคนลิ้น เป็นต้น ทำให้เกิดเสียงดังออกมาเป็นเสียงกรน รบกวนคนร่วมห้องหรืออาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติของคู่รักเลยก็ว่าได้

นอกจากนี้การนอนกรนยังก่อให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นระหว่างคืนอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดการ ง่วงนอนทั้งวัน ง่วงนอนตลอดเวลานั่นเอง 

New call-to-action
New call-to-action

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *