การนอนกรนกับโรคไหลตาย
การนอนกรน ไม่ใช่เรื่องธรรมดาทั่วไปที่สามารถมองข้ามได้เพราะอาจคิดว่าไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนัก แต่ความจริงแล้วนั้น การนอนกรน เป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจมากยิ่งขึ้นเพราะอาจส่งให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึง การนอนกรนกับโรคไหลตาย โดยเฉพาะ
โรคไหลตายคืออะไร
โรคไหลตาย มีชื่อในภาษาอังกฤษคือ Sudden Unexpected Death Syndrome (SUDS) หรือถ้าแปลแบบตรงตัวก็คือ “การตายแบบเฉียบพลัน” ในทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน สามารถเกิดได้ทั้งในขณะที่นอนหลับหรือตื่น โดยที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไหลตาย
โรคไหลตาย มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำให้เสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้โรคไหลตาย หรือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการมีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งถือได้ว่าการนอนกรนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคไหลตายหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้
นอกจากนี้ สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคไหลตายได้แก่ ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือจากอาหารการกิน โดยเฉพาะการกินข้าวเหนียว ยิ่งทานพร้อมเหล้าหรือเบียร์ซึ่งมักพบมากในภาคอิสาน การที่โพแทสเซียมในร่างกายต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้น หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด หรืออาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หัวใจจึงมีโอกาสเต้นผิดปกติ และหยุดเต้นได้
สัญญาณเตือนของโรคไหลตาย
ผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือไหลตาย เพราะมักไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หรือใจสั่นได้
ในกรณีที่มีอาการกำเริบขณะนอนหลับ อาจมีเสียงหายใจดังครืดคราดคล้ายคนนอนละเมอ ซึ่งหากหัวใจไม่กลับมาเต้นเป็นปกติภายในเวลา 6-7 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจไม่ใช่สัญญาณของภาวะไหลตายเสมอไป ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นและรับการรักษาต่อไป
การนอนกรนเกี่ยวข้องกับโรคไหลตายอย่างไร?
การนอนกรน มีความเกี่ยวข้องกับโรคไหลตาย หรือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน กล่าวคือการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับนั้นจะมีลักษณะของทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบและอุดตันขณะหลับ ซึ่งเสียงกรนจะเกิดขึ้นในขณะที่กำลังหายใจ (เนื่องจากอากาศเดินทางผ่านที่แคบทําให้เกิดเสียงดัง) อีกทั้งยังทําให้ไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าสู่ปอดได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง โดยเฉพาะทําให้ออกซิเจนในเลือดต่ำเนื่องจากขาดอากาศหายใจ จึงต้องพยายามหายใจแรงขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
อาการนอนกรนชนิดรุนแรง หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีผลทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการสะดุ้งเฮือกและตื่นขึ้นมาระหว่างนอนหลับ เมื่อหัวใจต้องทำงานหนักทุกคืนเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือไหลตายได้
ดังนั้นผู้ที่มีอาการนอนกรนจึงควรใส่ใจในสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในเบื้องต้นก็สามารถเริ่มต้นได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอนหลับ หรือออกกำลังกายเฉพาะส่วน ถ้าหากพบว่ามีอาการนอนกรนที่รุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงควรทำการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาต่อไป
การนอนกรนเป็นผลดีผลเสีย
ดีนะฉันตอบด้วย
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับ “ประเภทของการนอนกรน” ครับ
อาการนอนกรนนั้น ทางการแพทย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ นอนกรนแบบธรรมดา และการนอนกรนแบบอันตราย ถ้าเป็นนอนกรนแบบอันตรายก็จะมีผลเสี่ยต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ กบ่าวคือกล้ามเนื้อในช่องคอมีการหย่อนตัวลงมากขึ้น ช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบก็จะแคบลงมาจนปิดสนิท เราเรียกภาวะเช่นนี้ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea (OSA) ซึ่งมีผลเสียตามมามากมายครับ
นอนกรนมาตลอด ไม่อ้วน ไขมันปกติ แต่ตรวจสุขภาพพบภาวะหัวใจขาดเลือด เป็นเพราะนอนกรนหรือเปล่าคะ อันตรายไหมคะ
การนอนกรนแบบธรรมดาไม่น่าเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ครับ แต่ถ้านอนกรนแบบมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรงร่วมด้วย เป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายๆปี อาจมีส่วนทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น ในทางกลับกัน ถ้าตอนนี้ร่างกายมีภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วมีการนอนกรนแบบมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้โรคทางด้านหัวใจรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเราระดับการนอนกรนของเรานั้นอยู่ในระดับอันตรายหรือไม่ครับ